ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลสระพังลาน องค์การบริหารส่วนตำบลสระพังลาน ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สนับสนุนและเชื่อมโยงกัน 8 ด้านดังต่อไปนี้
1. |
ยุทธศาสตร์พัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐาน การสาธารณูปโภค การสาธารณูปการ และการผังเมือง |
2. |
ยุทธศาสตร์เสริมสร้างปัจจัยและโอกาสทางเศรษฐกิจ |
3. |
ยุทธศาสตร์ด้านการกีฬาและเสริมสร้างสุขภาพอนามัยและบริการสาธารณสุข |
4. |
ยุทธศาสตร์พัฒนาเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และยกระดับคุณภาพชีวิต |
5. |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม |
6. |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
7. |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองและการบริหารจัดการ |
8. |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวและภาวะแวดล้อมเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐาน การสาธาณูปโภค สาธารณูปการและผังเมือง วัตถุประสงค์ มุ่งหวังที่จะทำให้ตำบลสระพังลาน มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกและปลอดภัย เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยจัดให้มีระบบการคมนาคมที่สะดวก มีไฟฟ้า ประปาที่ทั่วถึง มีแหล่งน้ำใช้ที่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตรมีการระบายน้ำที่ดี มีระบบควบคุมการวางผังเมืองที่ดี
เป้าหมายในการพัฒนา
1. |
เพื่อให้ประชาชนมีถนนที่เพียงพอสามารถคมนาคมได้สะดวกอย่างรวดเร็ว |
2. |
เพื่อให้มีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการเกษตรกรรมและใช้สำหรับอุปโภค บริโภค |
3. |
เพื่อให้มีสถานที่อำนวยความสะดวก ให้บริการในด้านต่างๆที่ครบถ้วน | แนวทางการพัฒนา
1. |
ก่อสร้างขาย ซ่อมแซม ปรับปรุงและบำรุงรักษาถนนให้เพียงพอและทั่วถึง |
2. |
จัดหาและบำรุงรักษาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและแหล่งน้ำเพื่อการสาธารณูปโภค บริโภคให้เพียงพอและทั่วถึง |
3. |
การอำนวยความสะดวกในชุมชน |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการเสริมสร้างปัจจัยและสร้างโอกาสเศรษฐกิจ วัตถุประสงค์ ตำบลสระพังลานมุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจที่ดีให้ประชาชนมีอาชีพเสริม ขยายให้มีงานทำในตำบล และให้ประชาชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น สนับสนุนในเรื่องของผลผลิตของการเกษตรและสินค้าอื่นให้มีคุณภาพ
เป้าหมายในการพัฒนา
1. |
เพื่อการพัฒนากลุ่มอาชีพให้เข้มแข็ง สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตำบลให้เป็นที่รู้จัก |
2. |
เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้แต่ละกลุ่มอาชีพในด้านการบริหารจัดการกลุ่ม |
3. |
เพื่อเพิ่มขยายโอกาส ให้ประชาชนในตำบลมีงานทำ และสามารถประกอบอาชีพอิสระได้เป็นการสนับสนุนนโยบายแก้ไขปัญหาสังคม และความยากจนในชุมชน | แนวทางการพัฒนา
1. |
พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกรประชาชน |
2. |
ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพให้มีรายได้ |
3. |
เพิ่มและขยายโอกาสการทีงานทำ |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านการกีฬา เสริมสร้างสุขภาพอนามัย และบริการสาธารณสุข วัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลได้รับการสาธารณสุข และส่งเสริมการกีฬา เพื่อสร้างความเข้มแข็งในกับประชาชนมีสุขภาพพลานามัยที่ดีมีคุณภาพ
เป้าหมายการพัฒนา
1. |
เพื่อให้ประชาชนในตำบลมีสถานที่ใช้สำหรับเล่นกีฬาและออกกำลังกาย |
2. |
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านการกีฬาในชุมชนมีศักยภาพ |
3. |
เพื่อให้ประชาชนในตำบลมีสุขภาพอนามัยที่ดี แข็งแรง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ |
แนวทางการพัฒนา
1. |
พัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา |
2. |
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและบริการสาธารณสุข |
3. |
การป้องกันและระงับโรคต่างๆ ในชุมชน |
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและยกระดับคุณภาพชีวิต วัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับและมุ่งหวังให้ผู้นำชุมชน ประชาชน เยาวชนทั่วไปในตำบลเป็นผู้มีความรู้และเป็นผู้ใฝ่รู้อยุ่เสมอ ส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ สามารถมีความรู้เท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลกรทบต่อการดำรงชีวิต พร้อมทั้งรู้จักวิธีป้องกันและแก้ไข รู้จักป้องกันตนเอง เป็นสังคมที่เข้มแข็งมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และเป็นชุมชนที่ปราศจากยาเสพติด เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมเอื้ออาทร และผู้ด้อยโอกาสทางสังคมจะต้องได้รับการปฏิบัติ และการช่วยเหลืออย่างเสมอภาคและมีความเท่าเทียมกัน
เป้าหมายในการพัฒนา
1. |
เพื่อสร้างระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
2. |
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น |
3. |
เพื่อการเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและวางมาตราการในการขจัดยาเสพติดให้หมดไปจากตำบล | แนวทางการพัฒนา
1. |
การพัฒนาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
2. |
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน |
3. |
การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด |
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลให้ได้รับโอกาสในการศึกษาและรู้รักษาส่งเสิรมอนุรักษ์และสืบทอดศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
เป้าหมายการพัฒนา
1. |
เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีแหล่งเรียนรู้ชุมชน สถานศึกษามีความพร้อมในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง |
2. |
เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนอนุรักษ์และสืบทอดศาสนา วัฒนธรรมและจารีตประเพณี | แนวทางการพัฒนา
1. |
พัฒนาคุณภาพการจัดการด้านการศึกษา |
2. |
พัฒนาด้านศาสนาและวัฒนธรรม |
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราจึงมุ่งหวังให้ประชาชนในชุมชนรู้จักใช้ทรัพยากรทีมีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
เป้าหมายในการพัฒนา
1. |
เพื่อให้ดินมีคุณภาพ สามารถใช้ในการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
2. |
เพื่อลดปริมาณขยะและสิ่งปฏิกูลในชุมชน |
3. |
เพื่อให้มีแหล่งน้ำที่สะอาด ปราศจากมลภาวะที่เป็นพิษ สามารถใช้ในการอูปโภคบริโภคได้ |
แนวทางการพัฒนา
1. |
ส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพดิน |
2. |
การจัดระบบบำบัดและกำจัดขยะมูลฝอย |
3. |
จัดระบบบำบัดน้ำเสีย |
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการเมืองและการบริหาร วัตถุประสงค์ มุ่งหวังที่จะให้ อบต.สระพังลาน เป็นผู้นำในการจัดการที่ดี มีอาคารสำนักงานทีทำการและวัสดุสำนักงานที่เพียงพอ มีความโปร่งใส ทั้งการบริหารและการเมือง ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารการปกครองและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
เป้าหมายการพัฒนา
1. |
ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลสระพังลาน มีระบบบริหารการจัดการที่ดีมีอาคารสถานที่ทำการที่เพียงพอและเหมาะสมในการบริการประชาชนให้ได้รับการบริการที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ระยะเวลาให้บริการสั้นรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ |
2. |
ส่งเสริมให้มีความรู้ด้านกฎหมายต่างๆ แก่ประชาชน |
3. |
ส่งเสริมให้ประชาชน ได้เข้ามาตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร การเผยแพร่ข่าวสารให้ประชาชน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมตัดสินใจกับทางอบต. ในกิจการของ อบต. อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง | แนวทางการพัฒนา
1. |
เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครองตามระบบประชาธิปไตย |
2. |
ปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ |
3. |
ฝึกอบรม ประชาชนให้มีความรู้ในเรื่องกฏหมาย ที่เกียวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน |
ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาการท่องเที่ยว และภาวะแวดล้อมเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ วัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ในการเป็นเครื่องพักผ่อนหย่อนใจ
เป้าหมายในการพัฒนา
1. |
เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นเกิดจิตสำนึกและร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม |
2. |
เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและมีภูมิทัศน์ทีสวยงาม |
3. |
เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่น มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและเป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยว | แนวทางการพัฒนา
1. |
สร้างจิตสำนึกและร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน เพื่อประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ |
2. |
อนุรักษ์ศิลปวัฒธรรมประเพณีท้องถิ่น ให้คงอยู่และเป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยว |
|